วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันสำคัญในพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา วสฺส วรฺษ Vassa

วันสำคัญในพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา ( วสฺส  วรฺษ  Vassa )




การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา ในปี 2558 นี้ ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม



มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์
ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตร  ในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบากเพราะพื้นดินจะแฉะ และอาจเหยียบย่ำโดนเมล็ดพันธุ์ต้นอ่อนต่างๆที่ชาวบ้านปลูกไว้ หรือพืช หรือเห็ดบางชนิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสัตว์บางประเภทที่วางไข่หรือซุกตัวตามที่ชื้นแฉะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำในสิ่งใด

ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว



ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย





ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น

ประเพณีถวายเทียนพรรษา





ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)


 

การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงพรรษากาลในประเทศไทย
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ โดยนิยมไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปกิจที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในพรรษากาลได้ดังนี้










* ร่วมกิจกรรมทำเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์
* ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
* ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ตลอดพรรษากาล
* อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดการทำชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น
* ไถ่ชีวิตสัตว์ ปล่อยนก ปล่อยปลา


ทำบุญเสร็จแล้วอย่าลืมกรวดน้ำ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลของเรา ไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของเราด้วย เพราะนอกจากเป็นการให้แล้ว ยังเพื่อความสบายใจของเราอีกด้วย


บทกรวดน้ำแบบสั้น

          อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

          ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ











เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่อยากเข้าวัดทำบุญแต่ไม่รู้ว่าเค้าสวดมนต์อะไรกัน 


บทสวดมนต์ กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกที่

ตอนเข้าวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
 
คำบูชาพระรัตนตรัย

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
    สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )

บทสวดพุทธานุสสติ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)

บทสวดธัมมานุสสติ 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)

บทสวดสังฆานุสสติ 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย,
ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)





ตอนกลับสวดเหมือนเมื่อกี้ แต่เพิ่มบทสวดนี้เข้าไปด้วย พร้อมทั้งบทแผ่เมตตาหรือแผ่ส่วนกุศล ตามด้วยกรวดน้ำ

สวดแบบตอนเข้าแล้วเพิ่มส่วนนี้เข้าไป
 กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,              
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป.

 กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง,
ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม    
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระธรรม, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป.

 กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ    
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป.


หลังจากเตรียมเครื่องกรวดน้ำเสร็จแล้วให้แผ่เมตตาก่อนกรวดน้ำ
 คาถาแผ่ส่วนกุศล

            อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

            อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

            อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

            อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

            อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

            อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

            อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

            ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

 
บทกรวดน้ำแบบสั้น (ระหว่างกรวดน้ำให้สวด2บนนี้เข้าไปด้วย คือกรวดน้ำแบบสั้นเพื่อตัวเรากับครอบครัว และให้เจ้ากรรมนายเวรด้วย)

          อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

          ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ


บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

          ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ




ถ้าทำแล้วสบายใจ มีความสุข เกิดความปิติ ก็อย่าลืมนึกถึงผู้เขียนนิดนึงนะครับ ช่วยแผ่กุศลผลบุญมาทางนี้ด้วยนะครับ ผมจะรอคอย อิอิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น